วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

タスク3秘密

        タスクครั้งนี้ คือการฝึกพูดให้ตลก = =’ ซึ่งถ้าเป็นภาษาไทยคงจะไม่อยากอะไรเลยยยยย เป็นเรื่องของผู้หญิงคนหนึ่งซี่งไปศัลยกรรมมา แล้วโดนแฟนเห็นรูปก่อนศัล ซึ่งคงจะอุบาทว์มาก แต่แฟนไม่โกรธเลย โอ้ววว แม่เจ้า ช่างเป็นแฟนที่แสนดีเสียนี่กระไร ที่ไหนได้ละจ้ะ น่างแฟนหัวล้านจ้า ใส่วิกอยู่เหมือน อุบาทว์เจออุบาทว์เลยทีนี้ เล่าเป็นภาษาไทยก็ฟังเพลินดี แต่พอเล่าเป็นภาษาญี่ปุ่นเท่านั้นแหละ ง่อยแดกเลยจ้า

ส่วนนี่ คือสิ่งที่อิฉันพูดไป //นี่ฉันทำอะไรลงไปเนี่ยยยยย =[ ]=

ピムチャノック:ねえ、ねえ、聞いて、私と彼氏が別れちゃったんだ
カノックトーン:なんで、なんで?

ピムチャノック:マムちゃん知ってるね、私が整形したこと。昔はとてもブスだ。その日、彼は私の部屋に来て、私の昔の写真を見ちゃったんだ。嫌われたかなと心配したが(อ่านดูแล้วน่าจะเป็นしていたมากกว่าอ่านะ)、彼はいいよ、大丈夫だよと言った。私はああ、彼は私のことを認められて、いい彼氏だねと思った。そして、彼はカツラを外して、私はとってもびっくりした。実は、彼が禿頭だ。

     คิดว่า การพูดของเรา ไม่ค่อยตลกเท่าไร อคำศัพท์ต่างๆน่ะรู้อยู่ แต่คำพูดที่แสดงความรู้สึกตลก หรือเชิญชวนให้คนอื่นตลกน่ะมันไม่รู้ เลยเล่าออกมาได้ซะแข็งทื่อ ความจริง การเล่าเรื่องตลกเป็นอีกสกิลหนึ่งที่ควรฝึกเลยน่ะ เพราะคิดว่าอารมณ์ขันเป็นส่วนหนึ่งของสกิลการเข้าสังคม และถ้าจะให้ดีควรศึกษาวัฒนธรรมญี่ปุ่นไปด้วย จะได้รู้ว่าสำหรับชาวญี่ปุ่น จุดไหนตลก จุดไหนไม่ตลก หรือจุดไหนเล่นแรงเกินไป เพราะฉะนั้นแล้ว ควรพัฒนาเป็นอย่างยิ่งค่ะ !!!

วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

3分スピーチ①

 เนื่องในวโรกาสในการเรียนวิชา การสนทนาภาษาญี่ปุ่น ของนิตชั้นปีที่ 3 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้มีการจัดสอบ พูดスピーチขึ้นโดยพร้อมกัน = ='
 
 ช่างเป็นการสอบที่ดูดพลังและวิญญาณเสียนี่กระไร เมื่อจะต้องพูดสปีชหน้าห้องเป็นเวลา 3 นาที โดยที่ไม่ทราบหัวข้อมาก่อน และไม่สามารถเตรียมตัวมาก่อนด้วย แต่ในเมื่อเลือกทางสายญี่ปุ่นนี้มาแล้ว คำว่าทำไม่ได้ หรือไม่กล้าทำ คงไม่สามารถปรากฏอยู่ในพจนานุกรมของสาวๆ(และหนุ่มๆ)เอกญี่ปุ่นได้ เอาวะ ทำก็ทำ (อิฉันคิด) โคตะระจะตื่นเต้น เนื่องในทักษะการพูดภาษาที่ไม่ใช่ภาษาแม่ง่อยอยู่แล้ว ณ จุดๆนี้ เราต้องแสดงความง่อยในทักษะต่อหน้าทุกคนในห้องรวมทั้งอาจารย์หรือนี่ /อย่าไปตื่นเต้นน่า เดี๋ยวมันก็ผ่าน /แล้วถ้ามันพูดไม่ได้ล่ะะะ /ได้อยู่แล้วเรียนมาตั้งหลายปี ใช้คำศัพท์ง่อยก็ได้ /ถ้าอ่านโจทย์ไม่รู้เรื่องล่ะ /คงไม่หรอก อาจารย์น่าจะช่วย อิส /แต่โคตรตื่นเต้นเลยง่าาา //เสียงทั้งสองเสียงดังก้องอยู่ในหัว ทะเลาะกันประหนึ่งแย่งแฟน แต่เอาวะ สู้

จับสลากปุ้บ ...つらい記憶 What the ....... ไม่ค่อยมีเรื่อง つらい ที่つらいที่สุดที่นึกออก อ่อออออ

こんにちは皆さん、ピムチャノックと申します。今日はつらい記憶についてお話したいと思います。皆さんはつらい記憶がありますか?私のつらい記憶は1年生のときです。(なんです)私は田舎の学生で、チュラ大に入れますから、バンコクに引っ越しました。

ขอ Close up ที่ประโยคนี้ นิสนุง 私のつらい記憶は1年生のときなんです
んですในที่นี้น่าจะเป็นประเภท
4)え(การเปลี่ยนเรื่องพูด
Ex.彼女かのじょは人のものを何でもほしがる。ようするに彼女は子供こどもなのだ。
เพราะ หลังจากประโยคนั้น ก็ไปเริ่มใกม่ คือ เริ่มเล่าเรื่องเลย จึงคิดว่า น่าจะใช้รูปนี้

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

タスク2外国人

ความรู้สึกจากการทำ タスク2外国人

        การทำ タスク ครั้งนี้ เป็นการพูดบรรยายภาพที่เห็น ทำให้ได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง 
   อย่างแรก คือ คำศัพท์ มีคำศัพท์หลายคำที่เราไม่รู้ ทั้งๆที่เป็นคำศัพท์ง่ายๆ บรรยายถึงสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน รวมถึงการเลือกใช้คำศัพท์ ซึ่งก็เรียกง่ายๆ ว่าไม่รู้คำศัพท์นั่นแหละ เช่น ประโยคที่บอกว่า สบตา คือ 「目があった」ก็เพิ่งรู้ตอนที่ได้ทำ タスクนี้แล

อีกคำหนึ่ง การบรรยายการกระทำว่า หลบอยู่หลังหนังสือพิมพ์ คือใช้ประโยคว่า 新聞のかげに隠れるค่า ความรู้ใหม่อีกแล้ว  รู้ไหมคะ ตอนพูดจริง อิฉันพูดว่า 新聞を読んでいるような態度をします อับอายขายหน้าค่ะ 55555

   อย่างที่สอง เมื่อจำเป็นต้องพูดออกไปเลยโดยที่ไม่ได้มีเวลาไต่ตรอง เรียบเรียง และตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ทำให้พบว่ามีข้อผิดพลาดเยอะมาก แม้แต่ไวยากรณ์ง่ายก็ยังผิด ตอนพูดไม่ค่อยรู้สึกตัวหรอก แต่พอได้ลองกลับมาฟังอีกครั้ง ก็พบว่า อื้อหืออออ ผิดได้อย่างไร(วะ) ซึ่งเป็นส่วนที่ควรจะพัฒนาอย่างยิ่ง เป็นต่อไปอย่างนี้อาจจะเข้าข่ายสุภาษิตที่ว่า “ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด” (ไม่เกี่ยวเลยค่ะ 5555) คือว่า ความรู้ ไวยากรณ์ คำศัพท์เนี่ย แน่นปึกอยู่ในหัว แต่พอจะเอาออกมาใช้จริงๆ กลับไม่ได้เรื่อง เช่นนี้ก็ไม่ไหวนะเจ้าคะ T T 

   และอย่างที่ 3 ได้เรียนรู้เรื่องการใช้รูป んです อีกแล้ว คือ เวลาทวนประโยคของคู่สนทนา จะใช้รูป んです เช่น A:昨日は病気で、休みました。B:病気なんですか。เป็นต้น 

โดยสรุปแล้ว งานนี้ทำให้อิฉันรู้สึกตัวได้ว่า ทักษะการพูด ห่วย บรม แต่มัวแต่ต๊อแต๊ ก็ไม่ได้อะไรดีขึ้นมานะคะ ลุกขึ้นมาพัฒนาตัวเองดีกว่า เพื่อที่ได้พูดเก่งกับเขาสักที 


นี่คือภาพ ที่ต้องบรรยายค่ะ ถ้าต้องพูดเป็นภาษาไทย ก็คงสบายบรื๋อ สะดือโบ๋ มีแต่คำศัพท์ง่าย แต่พอเป็นภาษาญี่ปุ่น ไอ้คำศัพท์ง่ายๆที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวันนี่ล่ะค่ะ ตัวยากเลย 



ส่วนนี่คือ งาน ที่แก้แล้ว (นี่ขนาดแก้แล้ว) 

私:ヤーダーさん、私はホテルへ行きました。それで面白いことがありました。
ヤーダーさん:何ですか?
私:そのホテルでいる男の人を見ました。その男の人は何もしないで、ソファに座っていました。そこで外国人の観光客がいました。その外国人は道が分からなくて、地図を見ていました。それで、その外国人と男の人が目があって、外国人が道を尋ねようと男の人に近づいていました。
ヤーダーさん:それで。。
私:それで、その男の人がそんな態度を見ると、隣に座っているおじいさんが読んでいる新聞のかげに隠れてしまいました。その外国人の観光客が道を聞くことができませんでした。

คำศัพท์แต่ละคำ น่าสนใจใช่มั๊ยล่ะค้าา :)


วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

タスク1に対する気持ち\(^^)/

ความรู้สึก จากการที่ได้ทำ タスク1 手紙のよい説明
        
        คิดว่า ยังทำไม่ดีพอ สิ่งที่ตัวเองเขียนไปในตอนแรก เมื่อได้มาเทียบกับสิ่งที่เจ้าของภาษาเขียนแล้ว พบว่ามันเข้าใจยากกว่ามาก การอธิบายของเราดูงงๆ ในขณะที่เจ้าของภาษามีการอธิบายที่เป็นแบบแผน เข้าใจง่าย เมื่อให้เพื่อนตรวจ เพื่อนก็พยายามหาข้อดีของผลงานเรา เช่น บอกรายละเอียดได้ดี แต่ถึงกระนั้น ข้อเสียก็เยอะมาก เช่น มีข้อมูลที่ไม่จำเป็น จะใส่มาทำไม :( ในการประเมินผลงานของเราจากเพื่อน ถึงจะได้รับคำชมมาน้อยนิด แต่คำแนะนำมหาศาล เราเห็นว่าเป็นเรื่องดี ไม่ใช่เรื่องน่าอับอายเลย ให้เพื่อนด่ามาเยอะๆ สิดี เราจะได้รู้ข้อเสียของตัวเอง :)
 
        กริยาบางตัวก็ใช้ผิดอย่างไม่น่าให้อภัย เช่น そこで「ポップ」というチュラ大のバスは通って、学生とか、先生とか迎えにいきます。ใครที่ไหนเขาเคยใช้กริยานี้กัน เรียกได้ว่าเป็นอิทธิพลจากภาษาแม่อย่างแท้จริง ก็แหมมม รถไปรับพวกอาจารย์ กับนักเรียน ภาษาไทยก็พูดได้ไม่ผิดสักหน่อย แต่แปลเป็นภาษาญี่ปุ่นแล้ว เปรียบได้กับบ้านนอกเข้ากรุงชัดๆ ภาษาต่างด้าวเห็น และยังประโยค それで、大学の中に戻ります。 นี่อารายยยยยยย 戻ります ใช้กับการที่ อยู่ที่นั่นอยู่แล้ว ออกไปแล้วกลับมา นั่นนน แปลเป็นเหมือนจะใช้ถูก แต่ผิดค่ะ!!! กรุณาอย่านำภาษาแม่มาเปรียบเทียบ  大学に入ります อย่างนี้น่าจะดีกว่านะคะ 
     
        ส่วนเรื่องคำลงท้ายประโยค มีอันหนึ่งที่น่าสนใจมาก เรื่องของการใช้ ...のです เจ้าของภาษา เมื่อเขาอธิบายเสร็จแล้ว สังเกตได้ว่า เขาจะใช้ のですตามหลัง เช่น そのまま直進すると、ようやく早稲田大学文学部キャンパスが見えるのです。 ซึ่งเท่ห์มาก จะจำไปใช้นะคะ ^^


        ค่ะ เอาเป็นวา เข้าใจแล้วภาษาญี่ปุ่นในการเขียนอธิบายให้เข้าใจของตัวเองง่อยมาก แต่ถึงกระนั้น ก็สามารถพูดได้ว่า ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเยอะมากเลยจากการทำ タスク และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตนเองจะเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ และนำความรู้นั้นๆ มาปรับใช้จริงๆนะคะ 

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

·       จากการค้นหาข้อมูลเรื่องการใช้ んですก็ได้ข้อมูลดังต่อไปนี้


              「~んです」意味用法 แบ่งวิธีการใช้ดังนี้ 
1)説明(せつめい)(もと)める、説明を(あた)える(การขอคำอธิบาย
A: どうして(おく)れたんですか    
B: ごめんなさい。バスが来なかったんです。 
(みち)()んでいます。きっと事故(じこ)があったのです 

2)主張(しゅちょう)การยืนยัน
それでも私は行きたいんです 

3)納得(なっとく)การยอมรับ
(へん)な男がうろうろしていた。だから犬がほえたのだ
ประโยคข้างหน้าเป็นสถานการณ์ประโยคข้างหลังเป็นผลลัพธ์

4)()()え(การเปลี่ยนเรื่องพูด
彼女(かのじょ)は人のものを何でもほしがる。(よう)するに彼女は子供(こども)なのだ。 

5)発見(はっけん)การค้นพบ
(料理を作っていて)何か味が足りない。・・ああ、砂糖(さとう)()ればいいんだ。 

6)命令(めいれい)การสั่ง
さっさと(ある)んだ。


ที่มา www.japanese.sskru.ac.th/UserFiles/.../Lesson%2026(1).doc


จากการศึกษานะคะ ทำให้พบว่า อิฉันใช้ถูกแล้วค่าาา //ปรบมือ ในที่นี่อาจสามารถจัดให้อยู่ในหมวดหมู่
ของการถาม และการบอกขอคำอธิบาย ประมาณว่า 

เพื่อน : はい、どうしたの?มาทำไมคะ(เมื่อแปลไทยแล้ว ถามกวนตรีนสุดๆ 5555) 
มะ : あのう、私のかばんがなくなってしまったんですが。。。 คือว่ากระเป๋าอิฉันหายน่ะค่ะ 
นั่นแหละ จึงจัดว่าเป็นการขอคำอธิบายและอธิบาย เมื่อรู้วิธีการใช้เช่นนี้ คราวหน้าคงไม่ต้องใช้มั่ว หรือใช้ตามความเคยชินอีกแล้วล่ะค่ะ (หราาาา ><) 

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

        วันนี้ ในคาบวิชา Jp Con หรือ การสนทนาภาษาญี่ปุ่น อาจารย์ได้กำหนดหัวข้อมาว่า ทำของหาย แล้วต้องไปแจ้งเจ้าหน้าที่ และบรรยายถึงลักษณะสิ่งของของตนเอง ซึ่งคิดว่ามีประโยชน์มากถึงมากที่สุด เมื่อได้ไปญี่ปุ่นแล้ว แล้วยังไงคะ ในบทสนทนาใช้ม้าาา ก็จะต้องมี 文末表現 แล้วยังไงคะ แล้วอิฉันก็ใส่มั่วตามความเคยชินค่าาา ถูกผิดอิฉันไม่รู้ เเค่ได้ใส่อิฉันก็สบายใจ
นี่คือส่วนหนึ่งของการพูดในวันนี้นะคะ

มะ : あのう、しつれいします。
เพื่อน : はい、どうしたの?
มะ : あのう、私のかばんがなくなってしまったんですが。。。
เพื่อน : どこで忘れましたか。
มะ : それは最後の授業の教室で忘れたかもしれません。
เพื่อน : 最後の授業はいつですか?
มะ : 1時から4時までです。
いじょうです。。。。。

        สิ่งที่น่าสังเกตุจากการพูดวันนี้คือ การใช้ んですคาดว่าหลายคนคงรู้จัก และหลายคนคงใช้เพราะความเคยชิน (รวมทั้งมะด้วย) เพราะฉะนั้น จะขอหยิบยกประเด็นเรื่องการใช้ んですขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อที่จะสามารถเลือกใช้ได้ถูกต้องในครั้งต่อไป


        
        สวัสดีค่ะ กับการทำบล็อกครั้งแรกในชีวิต บอกก่อนเลยว่า บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา App Jp Ling  ที่จะบันทึกเกี่ยวกับการพูดภาษาญี่ปุ่น การสนทนา เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านการพูดภาษาญี่ปุ่น ฉะนั้นก็ไม่ต้องตกใจกับชื่อบล็อก เพราะว่าในการทำบล็อกครั้งนี้ เพราะภาษาญี่ปุ่น คือชีวิตจริงๆ ต้องมีสติทุกครั้งเมื่อพูดภาษาญี่ปุ่น เพื่อที่จะจับผิดการพูดของตัวเอง และจดจำมันเพื่อนำมาหาข้อมูลต่อ และนำไปใช้ในการพูดครั้งใหม่ให้ถูกต้อง (ซึ่งดูเป็นเรื่องยิ่งใหญ่และจริงจังมาก = =) คนอย่างมะ ไม่เคยทำอะไรเล่นๆ (หราาา:P) 

        ซึ่งหัวข้อที่เลือกที่จะศึกษานี้ คือเรื่อง 文末表現 ซึ่งต้องบอกเลยว่า ไม่ใช่การทำเพื่อคะแนนเลย เป็นการทำเพราะตั้งใจที่จะ "พยายาม" พัฒนาทักษะตัวเองล้วนๆ (ที่ออกตัวไว้ก่อน เพราะมองเห็นอนาคตว่าอาจจะล่มกลางคัน T T) เนื่องจากว่า คำลงท้ายในภาษาญี่ปุ่น เป็นเรื่องที่ไม่สันทัด และยังใช้มั่วบ่อยๆ = =' งานนี้จึงต้องมีการจับผิดกันบ้าง ทั้งๆที่โอกาสที่จะได้พูดภาษาญี่ปุ่นก็น้อยนิด แต่ก็จะพยายามทำและพัฒนาตัวเองออกมาให้ดีที่สุดนะคะ
        
        อย่างไรก็ตาม หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบล็อกนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มาศึกษาค้นคว้า นะคะ (หรืออาจจะไม่เป็นก็ได้ ไม่ว่ากัน) :)