マムちゃん:(26)無理だよ。ありえないわ、そんなの。私はただ一般人なんだから、彼は(11)宇宙人だよ。人間は(11)宇宙人と付き合えるわけないでしょ。
คือ 文末表現 “でしょう”ค่าา แล้ว でしょう คือ อะไรรร
1 「でしょう」(普通形 รูปธรรมดา「だろう」 ) ใช้ในการบอกเล่าสิ่งที่คาดคะเนโดยเป็นเรื่องที่ผู้พูดไม่แน่ใจ
(Nは/が) V(普通形รูปธรรมดา)AいNAN でしょう
(พรุ่งนี้คงจะอากาศแจ่มใส่)
(การแข่งขันวันนี้ทีมAคงจะชนะ)
((คิดว่า)คำถามข้อนี้จะออกข้อสอบพรุ่งนี้ไหม)
(คิดว่าคงจะออก)
(เมื่อวานทีมมหาวิทยาลัยโตเกียวภาษาต่างประเทศชนะไหม)
(ไม่รู้ แต่คิดว่าคงชนะ)
(ตรงโน้นมีคนอยู่ คนโน้นคือใครกัน)
(คิดว่าคงเป็นคุณทานากะ)
2 「でしょう」ใช้เติมต่อท้ายรูปธรรมดา แต่สำหรับ「Nだ」「NAだ」จะอยู่ในรูป 「N」「NA 」 นอกจากนี้ยังใช้ต่อท้ายรูป 「た形」「ない形」 ได้ด้วย
(6)A:田中さんは来ますか。
(คุณทานากะจะมาไหม)
B:たぶん来ないでしょう。
(คิดว่าคงจะไม่มา)
3 สามารถละ「 N は/が」 ได้ ในกรณีที่เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า 「Nは/が」หมายถึงอะไร
4 「でしょう」เป็นการคาดคะเนด้วยความรู้สึกส่วนตัวจากมุมมองของผู้พูดเอง ไม่มีหลักฐานหรือมูลเหตุที่ชัดเจน
5 สามารถใช้ 「~でしょうか」ในการถามอย่างสุภาพได้ ในกรณีนี้ไม่มีความหมายของการคาดคะเน
(7)客:これはいくらでしょうか。
(ลูกค้า : นี่เท่าไหร่ครับ(คะ))
店員:それは1000円です。
(พนักงานร้าน:นั่น1000เยนครับ(ค่ะ))
ส่วนเสริม
6 รูปธรรมดาของ「でしょう」คือ「だろう」
(8)あしたは雨が降るだろう。
(พรุ่งนี้คงจะฝนตก)
(9)田中さんは来ないだろう。
(คุณทานากะคงจะไม่มา)
(10)Aチームが勝っただろう。
(ทีมAคงชนะ)
7 สำหรับประโยคที่ลงท้ายประโยคด้วย「~でしょう」หากยกทำนองเสียงสูงที่ท้ายประโยค จะแสดงความหมายว่าผู้พูดต้องการถามผู้ฟังให้แน่ใจว่าสิ่งที่ตนเองคิดนั้นถูกต้อง
(11)あしたは日曜日でしょう?
(พรุ่งนี้เป็นวันอาทิตย์ใช่ไหม)
(12)これは田中さんのでしょう?
(นี่เป็นของคุณทานากะใช่ไหม)
¶ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการถามเพื่อให้ผู้ฟังแน่ใจหรือรำลึกถึงเรื่องที่ผู้ฟังรับรู้หรือจดจำ ในกรณีนี้บางครั้งไม่ยกทำนองเสียงขึ้นสูง
(13)わたしがさっき言ったでしょう。
(เมื่อครู่ฉันบอกไปแล้วไม่ใช่หรือ)
(14)ほら、あそこにコンビニがあるでしょう。
(นั่นไง ตรงโน้นมีร้านสะดวกซื้ออยู่ไม่ใช่หรือ)
ที่มา http://www.coelang.tufs.ac.jp/modules/ja_th/gmod/contents_m/explanation/075.html
โดยสรุปก็คือ でしょう คือ การคาดคะเน หรือการแสดงความไม่มั่นใจ นั่นเองค่ะ รู้ว่ามี ใช้บ้าง แต่ไม่บ่อย เป็น 文末表現 ที่น่าสนใจค่ะ ^^
ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นเลย ตัวอย่างยกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจนดีค่า
ตอบลบ